Dashboard

จำนวนงบประมาณแยกตามสังกัด
จำนวนโครงการแยกตามสังกัด

# สังกัด/สถานศึกษา หรือ หน่วยงาน ชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย SDGs4 งบประมาณ ผลการดำเนินการ ปีงบประมาณ
1 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
โครงการนิเทศ ติดตามเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งระบบ ปี พ.ศ. 2566 1. เพื่อพัฒนาสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ และยกระดับคุณภาพกระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
2. เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งการนิเทศภายในโรงเรียน
3. เพื่อนิเทศ ติดตาม งานนโยบาย จุดเน้น และโครงการต่างๆ ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
49000
1. ผลที่ได้รับ
เชิงปริมาณ อยู่ระหว่างดำเนินงาน จะไปดำเนินการในไตรมาสที่ 3 – 4 “ผลการดำเนินกิจกรรมในไตรมาสนี้ยังไม่สามารถส่งต่อเป้าหมายเชิงคุณปริมาณได้”
1. การดำเนินการส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2. มีบางรายการดำเนินการแล้ว เช่น การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น
3. มีบางรายอยู่ระหว่างดำเนินการ และรอผลการดำเนินการ เช่น การนิเทศติดตามโรงเรียน การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ เป็นต้น
เชิงคุณภาพ อยู่ระหว่างรอสรุปผลการดำเนินการ จะไปดำเนินการในไตรมาสที่ 3 – 4 “ผลการดำเนินกิจกรรมในไตรมาสนี้ยังไม่สามารถส่งต่อเป้าหมายเชิงคุณภาพได้”

2566
2 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
โครงการพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี 2566 เพื่อพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะ ความรู้ความสามารถมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาไปใช้กับการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 17500
1. ผลที่ได้รับ
เชิงปริมาณ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ร้อยละ 90 ได้รับการพัฒนาตามทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นตรงตามความต้องการพัฒนาของแต่ละบุคคล
เชิงคุณภาพ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด มีทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นตรงตามความต้องการพัฒนาของแต่ละบุคคล มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2566
3 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี 2566 1. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างในสังกัดที่มีผลงานดีเด่น เกิดจาก การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น เสียสละและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อยกย่องครูที่มีความเป็นครู ด้วยจิตวิญญาณทั้งการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมและสร้างค่านิยมยอมรับ
3. เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างในสังกัด มีขวัญและกำลังใจ มีความมุ่งมั่น ในการปรับปรุงพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการปฏิบัติงานให้มีความก้าวหน้า
4. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างในสังกัด ให้มีความภาคภูมิใจที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา
42500
1. ผลที่ได้รับ
เชิงปริมาณ
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างในสังกัด จำนวน 99 คน ได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติ
- ร้อยละของผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาได้เต็มจำนวน
ที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เชิงคุณภาพ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างในสังกัด มีผลงานเป็นที่ประจักษ์
เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครู นักเรียน เพื่อนร่วมงาน เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม มีจิตมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
ที่รับผิดชอบ จนมีผลงานปรากฏที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ ประชาชนมากกว่าผู้อื่นอย่างเด่นชัด
มีความสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย ได้รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
2566
4 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
การบริหารจัดการระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์ วางแผนงบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติ 1 เพื่อจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลและข้อมูลในทุกๆด้านในระบบการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ให้ตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศในทุกระดับ
2 เพื่อวิเคราะห์และจัดตั้งงบประมาณในการบริหารจัดการค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง และ งบประมาณ ด้านอื่นๆให้มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ให้มีความสอดคล้องและบรรลุเป้าหมาย
ของยุทธศาสตร์ชาติ และสามารถนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนด
4 เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และแผนอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นรูปธรรมและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
5 เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และผลการปฏิบัติงานมาใช้ในการปรับปรุงในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลและคุณภาพในการจัดการศึกษา
160000
1. ผลที่ได้รับ
เชิงปริมาณ
กิจกรรมที่ 1 การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร ยังไม่ได้ดำเนินการกำหนดจะดำเนินการในไตรมาสที่ 3 – 4
กิจกรรมที่ 2 การวิเคราะห์และจัดตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
1. โรงเรียนในสังกัดได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้
1.1 โรงเรียนทั่วไป
- ค่าครุภัณฑ์ จำนวน 22 รายการ งบประมาณ 1,295,500 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และรายการปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 44 รายการ
งบประมาณ 29,359,900 บาท
1.2 โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
- ค่าครุภัณฑ์ จำนวน 4 รายการ งบประมาณ 295,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และรายการปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 21รายการ
งบประมาณ 15,833,300 บาท
- อาคารผูกพัน 1 รายการ 4,958,400 บาท
1.3 โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริฯ
- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และรายการปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 8 รายการ
งบประมาณ 3,370,500 บาท
2. โรงเรียนผ่านการพิจารณาเสนอขอจัดตั้งงบประมาณปี พ.ศ. 2567 (งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง) จากคณะกรรมการพิจารณาเสนอขอจัดตั้งงบประมาณฯ ดังนี้
2.1 โรงเรียนทั่วไป จำนวน 114 รายการ
- ค่าครุภัณฑ์ จำนวน 51 รายการ งบประมาณ 2,091,200 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และรายการปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 62 รายการ
งบประมาณ 27,409,500 บาท
- อาคารผูกพัน 1 รายการ 24,792,000 บาท
2.2 โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
- ค่าครุภัณฑ์ จำนวน 37 รายการ งบประมาณ 1,516,800 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และรายการปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 18 รายการ
งบประมาณ 8,721,900 บาท
- อาคารผูกพัน 1 รายการ 18,967,000บาท
2.3 โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริฯ
- ค่าครุภัณฑ์ จำนวน 46 รายการ งบประมาณ 2,041,400 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และรายการปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 4 รายการ
งบประมาณ 11,022,000 บาท
2.4 โรงเรียนคุณภาพ
- ค่าครุภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ งบประมาณ 559,200 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และรายการปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 3 รายการ
งบประมาณ 13,277,000 บาท

กิจกรรมที่ 3 การจัดทำแผนและงบประมาณและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา จำนวน 139 คน
2. สถานศึกษามีแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาที่มีรูปแบบเดียวกันและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด จำนวน 139 แห่ง

กิจกรรมที่ 4 การติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของ สพป.เชียงราย เขต 3 และสถานศึกษาในสังกัดและยุทธศาสตร์ สพฐ.
1. แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการการและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 20 เล่ม พร้อมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงาน
2. แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการ รายงานผลการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำความเข้าใจแบบติดตาม ตัวชี้วัด และกลั่นกรองข้อมูล จำนวน 2 ครั้ง พร้อมดำเนินการรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายในรอบ 6 เดือน ในระบบติดตาม e-MES จำนวน 13 ตัวชี้วัด
3. แต่งตั้งและประชุมสร้างความเข้าใจในนำเข้าข้อมูลโครงการ/รายงานความก้าวหน้าในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ eMENSCR จำนวน 1 ครั้ง และนำเข้าข้อมูลโครงการ และรายงานความก้าวหน้าในระบบจำนวน 2 ครั้ง (ไตรมาส 1 – 2)
เชิงคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีแผนปฏิบัติการประจำปี แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี และสถานศึกษามีแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา มีข้อมูลผลการดำเนินงานในการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติการประจำปี ในรอบ 6 เดือน และได้จัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในไตรมาสที่ 2 ให้กับ โรงเรียนทั่วไป โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริฯ และจัดตั้งงบประมาณปี พ.ศ. 2567 (งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง) ให้กับโรงเรียนผ่านการ มีสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษามีความเข้าใจในการติดตามประเมินผลและรายงานผลการบริหารจัดการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ผลการดำเนินงานในไตรมาสนี้ยังไม่เสร็จสิ้น
2566
5 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
การพัฒนาระบบบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนนโยบายขององค์กรสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ 2566 กิจกรรมที่ 1
1. เพื่อให้ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย และเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ทุกคน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. เพื่อให้การบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระดับคุณภาพมาตรฐานเฉลี่ยอยู่ใน ระดับเยี่ยม
กิจกรรมที่ 2
1. เพื่อให้ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย และเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ทุกคน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
2. เพื่อให้ผลการประเมินตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อยู่ในระดับคุณภาพ
กิจกรรมที่ 3
1. เพื่อสร้างการรับรู้ ความตระหนักต่อผลกระทบไฟป่า หมอกควัน หรือการเผาในที่โล่ง
2. เพื่อเตรียมความพร้อมการรับมือจากฝุ่นควันเพื่อให้เด็กนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยง
จากการเผา และฝุ่นควัน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิต
3. เพื่อคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น
กิจกรรมที่ 4
1. ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม ได้รับทราบนโยบายการจัดการศึกษา แนวทางการดำเนินการ และการพัฒนาการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อชี้แจงและรายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
3. เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
กิจกรรมที่ 5
1. เพื่อปลูกฝังปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี เสริมสร้างสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานราชการ ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม การทำงานเป็นทีม และพัฒนาเครือข่ายในการทำงาน รวมถึงเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ และการลงมือปฏิบัติจริง
2. เพื่อปลูกฝังค่านิยมและปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี และเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน
3. เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และนำไปขยายผลให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด



230000
1. ผลที่ได้รับ
เชิงปริมาณ
กิจกรรมที่ 1
มีผู้เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบ conference ร้อยละ 100 ซึ่งจัดโดย สพฐ.
กิจกรรมที่ 2
มีผู้เข้าร่วมการกิจกรรม จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย คณะผู้บริหาร,ข้าราชการ,พนักงาน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 คิดเป็นร้อยละ 100
กิจกรรมที่ 3
1. ประเมินโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 21 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 5 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 จำนวน 5 โรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย จำนวน 11 โรงเรียน
2. คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น จำนวน 3 โรงเรียน เพื่อเสนอเข้ารับรางวัล
กิจกรรมที่ 4
ได้ดำเนินการจัดประชุมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรทบทวนการฝึกอบรมผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน และการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ 99
กิจกรรมที่ 5 จะได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในไตรมาศต่อไป
เชิงคุณภาพ
กิจกรรมที่ 1 บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีความเข้าใจ ในแนวทางการประเมินตัวชี้วัดและมีผลการดำเนินการประเมินตัวชี้วัดตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีระดับคะแนนอยู่ในระดับดีเยี่ยม
กิจกรรมที่ 2 บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีความเข้าใจในแนวทางการประเมินตัวชี้วัดและมีผลการดำเนินการประเมินตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2566 มีระดับคะแนนในระดับคุณภาพ
กิจกรรมที่ 3 นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนในพื้นที่ ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 21 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 5 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 จำนวน 5 โรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย จำนวน 11 โรงเรียน ตระหนักรู้ถึงอันตรายจากฝุ่นละออง PM 2.5 และรู้จักป้องกันตนเอง และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
กิจกรรมที่ 4 ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน นำนโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่ได้รับทราบในการประชุมไปบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ มีความสามัคคี ร่วมมือกันบริหารจัดการศึกษาไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับศรัทธาและเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานทางการศึกษาอื่น
กิจกรรมที่ 5 ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่ม ประธานกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษา ผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียน /ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้เสริมสร้างสมรรถนะและ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาเครือข่ายในการทำงาน รวมถึงเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยเน้นการเรียนรู้ จากประสบการณ์จริง
2566
6 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
นักเรียนไทยเก่งรอบด้านด้วยกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประจำปีงบประมาณ 2566 1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ รู้จักวิธีการป้องการและแก้ไขเกี่ยวกับภัยคุกคาม ภัยจากยาเสพติด ความรุนแรง การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน การค้ามนุษย์ อาชญากรรมไซเบอร์ ภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ตลอดจนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง
กับความปลอดภัย
2.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครู ให้สามารถวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยง และดำเนินการตามแนวทางในการจัดการภัยพิบัติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบ ให้สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ รองรับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
3.เพื่อให้นักเรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
90000
1. นักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีความรู้ความเข้าใจ รู้จักวิธีการป้องการและแก้ไขเกี่ยวกับภัยคุกคาม ภัยจากยาเสพติด ความรุนแรง การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน การค้ามนุษย์ อาชญากรรมไซเบอร์ ภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ตลอดจนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
2. ครูสามารถวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยง และดำเนินการตามแนวทางในการจัดการภัยพิบัติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบ ให้สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหญ่และโรคอุบัติซ้ำ รองรับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
3. นักเรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่น การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ
มีความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
2566
7 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
สร้างโอกาส ความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนที่มีแนวโน้มว่าจะออกกลางคัน และนักเรียนที่ออกกลางคันปีการศึกษา 2566 ได้กลับเข้ามาเรียนต่อจนจบการศึกษาภาคบังคับ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน
2. เพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน และนักเรียนที่มีแนวโน้มว่าจะออกกลางคันปีการศึกษา 2566
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ทุกคนได้เข้าเรียนต่อ
18000
1. ร้อยละของจำนวนเด็กออกกลางคันลดลง
2. นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2566 เรียนต่อชั้น ม.1 ครบทุกคน
3. ประชากรวัยเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในสังกัด จบการศึกษาภาคบังคับทุกคน
2566
8 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถและความต้องการจำเป็นพิเศษ 1. เพื่อให้นักเรียนพิการเรียนรวมได้รับสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกันในการได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ ในรูปแบบที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล โดยได้รับบริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเข้าถึงบริการทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพ ทักษะการดำรงชีวิต และพื้นฐานอาชีพเพื่อพึ่งตนเองได้
2. เพื่อให้โรงเรียนคัดกรองนักเรียนมีความสามารถพิเศษ/โดดเด่น (Gifted)/เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กพิการ 9 ประเภท) และการดำเนินการคัดกรองความสามารถที่แตกต่างหลากหลายของผู้เรียน (MI) เพื่อดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานและบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
4. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้สามารถเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ส่งประกวดผลงานในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ
5. เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้กับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ/โดดเด่น (Gifted)
6. เพื่อคัดกรอง ส่งต่อ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนผู้มีความสามารถพิเศษบนฐานพหุปัญญารายบุคคลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
25000
1. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม มีความรู้ เข้าใจ พัฒนาตนเอง บริหารจัดการ และจัดการการศึกษาแบบเรียนรวม สามารถคัดกรองนักเรียนและสามารถเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) และการวัดและประเมินผลสำหรับนักเรียนพิการหรือบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละประเภทความพิการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบริบทของตนเองต่อเนื่องและยั่งยืน มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ผลการดำเนินงานในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพจนเกิดเป็นวิธีการปฏิบัติ
ที่เป็นเลิศ (Best Practice)
2. สถานศึกษาสามารถคัดกรองและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ/โดดเด่น (Gifted) ได้อย่างเหมาะสม
3. สถานศึกษามีการดำเนินการคัดกรองความสามารถที่แตกต่างหลากหลายของผู้เรียน (MI) เพื่อดำเนินการส่งเสริมนักเรียนอย่างเหมาะสม
2566
9 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
“คุรุอารยะ” การสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิชาการเพื่อส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศน์การเรียนรู้(ห้องเรียนคุณภาพ) และการพัฒนานวัตกรรม 1.เพื่อส่งเสริม และพัฒนาสมรรถนะครูให้สามารถสร้างระบบนิเวศน์การเรียนรู้ให้ห้องเรียนเป็นห้องเรียนคุณภาพ
2.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิชาการของแต่ละกลุ่มสาระผ่านกระบวนการ PLC
3.เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือผลการปฏิบัติงานที่เป็นแบบอย่างได้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเครือข่ายวิชาการ
40000
1. เขตพื้นที่ได้แนวทางในการใช้กระบวนการ Hackathon เพื่อพัฒนาครูให้เป็นนวัตกรสร้างสรรค์นวัตกรรม
2. มีบุคลากรที่สามารถเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนให้ห้องเรียนเป็นห้องเรียนคุณภาพ
3. มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการจัดการเรียนรู้
2566
10 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามพหุปัญญาของผู้เรียน 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูในสังกัด นำกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ให้แก่ผู้เรียน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการเนื้อหาที่เป็นกิจกรรมส่งเสริมพหุปัญญาในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของวัยโดยนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกรายวิชา ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning พัฒนากิจกรรมที่ช่วยผู้เรียนค้นหาศักยภาพของตนเอง ช่วยให้ผู้สอนรู้จักความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ได้ค้นหาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และนำข้อมูลไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
3.เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการวัดและประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอย่างหลากหลายในชั้นเรียน
180000
1.ครูผู้สอนในสังกัดสามารถออกแบบจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพและเต็มตามศักยภาพอย่างเหมาะสมกับบริบทของตนเอง
2.ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ตามความถนัดและความสนใจ ผ่านกิจกรรม การเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการปฏิบัติจริง
3.ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาศักยภาพในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และมีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถที่จะประยุกต์ใช้และนำไปบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ ที่เอื้อต่อการพัฒนาพหุปัญญาที่เหมาะสมกับผู้เรียน
4.โรงเรียนมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการและพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงส่งเสริมพหุปัญญาในทุก ๆ ด้านของผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
5.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำไปต่อยอดและยกระดับคุณภาพ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning และการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางพหุปัญญาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2566
11 สพป.เชียงราย เขต 3
กลุ่มนโยบายและแผน
พัฒนาการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่การเตรียมความพร้อมรับการทดสอบระดับชาติ 1.เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการทดสอบระดับชาติ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ของโรงเรียนในสังกัด เพื่อให้คะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
2. เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนและครูผู้สอนในการทดสอบระดับชาติ (NT และ O-NET) ปีการศึกษา 2565
3. เพื่อพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning) ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนทุกระดับ
4. เพื่อพัฒนาครูผู้สอนระดับปฐมวัยให้สามารถวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย


30000
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
2. โรงเรียนจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2566
12 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการนิเทศวิถีใหม่ด้วยการใช้พื้นที่เป็นฐาน ผสานนวัตกรรมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา 1. การดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดที่สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ จุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
2. การบริหารจัดการด้านงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด
3. การจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของครูผู้สอนในสังกัด
4. การพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียนร่วมพัฒนา
5. การส่งเสริม สนับสนุนให้ศึกษานิเทศก์ได้มีนวัตกรรมและการวิจัย
160000
1. สถานศึกษาในสังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 และโรงเรียนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 104 โรงเรียน 1 สาขา 1 ห้องเรียนสาขา (สังกัด สพฐ. จำนวน 102 โรงเรียน 1 สาขา 1 ห้องเรียนสาขา และสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2 โรงเรียน)
มีผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ จุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
2. ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนสามารถบริหารจัดการด้านงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. ครูผู้สอนทุกคนสามารถจัดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. โรงเรียนร่วมพัฒนามีผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาดีขึ้น
5. ศึกษานิเทศก์ทุกคนมีนวัตกรรมและงานวิจัยที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้

2566
13 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการขับเคลื่อนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ (Performance Appraisal) : PA ลงสู่สถานศึกษาและห้องเรียน 1. เพื่อประชุมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย 4 สายงาน ได้แก่ สายงานบริหารการศึกษา สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานนิเทศการศึกษา และสายงานการสอน
2. ดำเนินการขับเคลื่อนการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะลงสู่การปฏิบัติ ให้เข้าถึงสถานศึกษาและห้องเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการดำเนินการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ของข้าราชการครู ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกๆ ฝ่าย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการ
ดำเนินการ ตามบริบทของสถานศึกษา แล้วนำองค์ความที่ได้รับมาเป็นแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ติดตาม สรุปผลการดำเนินการมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคล ในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5000
1. สพป.เชียงราย เขต 1 นำคณะทำงาน (PA Support Team) จำนวน 10 คน ไปศึกษาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบ ของ สพฐ. ณ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี อ.แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาการจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาวางแผน ในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติของสถานศึกษาในสังกัดให้สามารถดำเนินการในกระบวนการต่างๆ ได้ถูกต้อง ตามแนวทางที่ ก.ค.ศ.กำหนด
2. สพป.เชียงราย เขต 1 จัดประชุมผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ รอง ผอ.สพท.เชียงราย เขต 1 และข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ สามารถดำเนินการในกระบวนการต่างๆ ได้ถูกต้องตามแนวทางที่กำหนด และ ลดปัญหาการดำเนินการที่ผิดพลาดของสถานศึกษาในสังกัดได้ จำนวน 101 โรงเรียน
2566
14 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ปลูกจิตสำนึกหน้าที่พลเมืองดี โดยใช้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นฐาน 1. เพื่อพัฒนาให้ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ สังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 มีความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้บูรณาการประวัติศาสตร์ โดยใช้ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
2. เพื่อพัฒนาให้ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ สังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 สามารถจัดการเรียนรู้บูรณาการประวัติศาสตร์ โดยใช้ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างได้
3. เพื่อส่งเสริมสถานศึกษาในสังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง คุณธรรม จริยธรรม
10000
ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย สังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 จำนวน 20 โรงเรียน เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้มีความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นเป็นฐาน
2566
15 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2566 1. เพื่อส่งเสริมสถานศึกษาให้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2566 โดยผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2565 เป็นฐานในพัฒนา
2. เพื่อส่งเสริมการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนที่มีรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือโครงการ-กิจกรรมที่ใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปลูกฝังความซื่อสัตย์ วินัย คุณธรรม จริยธรรมให้สามารถปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่แก่ผู้เรียน
3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2566 ให้มีองค์ประกอบครบถ้วน และถูกต้องทั้งด้านปริมาณและคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
10000
1. สถานศึกษา 100 แห่ง ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2566 โดยนำผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2565 ไปใช้ในการพัฒนา
2. สถานศึกษา100 แห่ง มีการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนที่มีรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือโครงการ-กิจกรรมที่ใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปลูกฝังความซื่อสัตย์ วินัย คุณธรรม จริยธรรมให้สามารถปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่แก่ผู้เรียน
2566
16 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ 2566 1. เพื่อให้ครูภาษาไทย ชั้น ป. 5- ม. 3 ระบุชื่อนักเรียนที่มีผลการอ่าน-เขียนภาษาไทยระดับต่างๆ ได้
2. เพื่อให้ครูภาษาไทย ชั้น ป. 5- ม. 3 สามารถระบุสื่อ/ขั้นตอนการสอนที่เหมาะสมในการพัฒนานักเรียนได้
3. เพื่อให้ครูภาษาไทย ชั้น ป. 5 - ม. 3 สามารถเขียนรายงานผลการพัฒนานักเรียนกลุ่มปรับปรุงได้

6000
1. ครูทุกคนมีรายชื่อนักเรียนที่มีผลการอ่าน-เขียนภาษาไทยระดับดีมาก ดี พอใช้ และปรับปรุง ตามแบบรายงานที่กำหนด
2. ครูทุกคนมีสื่อ/นวัตกรรมการสอน จากที่ สพฐ. เผยแพร่เพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียนกลุ่มคุณภาพปรับปรุง และ สพป. ชร. 1 ส่งให้นำไปใช้ รวม 17 สื่อ
2566
17 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการประเมินศักยภาพทางคณิตศาสตร์การคิดเลขเป็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ 1. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการคิดหาคำตอบการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกินหนึ่งร้อย
2. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการวิเคราะห์และหาคำตอบของโจทย์ปัญหาของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ตามวิธีการของบาร์โมเดล หรือวิธีการอื่น พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผล
10000
1. มีนักเรียนชั้น ป.1 ในภาคเรียนที่ 2 ปี กศ. 2565 ทุกคน จำนวน 2,484 คน ได้รับการประเมินความรู้ความเข้าใจ และสามารถหาคำตอบการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกินหนึ่งร้อย โดยใช้ข้อสอบจาก สพป.เชียงราย เขต 1
2. มีนักเรียนชั้น ป.1 ในภาคเรียนที่ 2 ปี กศ. 2565 ทุกคน จำนวน 2484 คน ได้รับการประเมินความรู้ความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์และหาคำตอบของโจทย์ปัญหาของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ตามวิธีการของบาร์โมเดล หรือวิธีการอื่น พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผล โดยใช้ข้อสอบจาก สพป.เชียงราย เขต 1
2566
18 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการส่งเสริม พัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะที่ จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ 2566 1.1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน โรงเรียนพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ และทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs)
1.2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
1.3 เพื่อนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนด้านสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs)
30000
1. สพป.เชียงราย เขต 1 ถอดบทเรียนโรงเรียนที่มีการดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ปี 2565 ที่เป็นแบบอย่าง จำนวน 4 โรงๆละ 1 ครั้ง แบ่งตามขนาดของโรงเรียน ดังนี้ 1. โรงเรียนอนุบาลเชียงราย (โรงเรียนขนาดใหญ่) 2. โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง) (โรงเรียนขนาดกลาง) 3.โรงเรียนบ้านปางขอน (โรงเรียนขยายโอกาสในพื้นถิ่นทุรกันดาร 4.โรงเรียนบ้านโป่ง (โรงเรียนขนาดเล็ก)
2. สพป. เชียงราย เขต 1 มีแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เป็นแบบอย่าง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2566
19 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญารายบุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงราย เขต 1 มีการจัดการเรียนรู้สู่พหุปัญญาของนักเรียนรายบุคคล 10000
ครูผู้สอนทุกคนในสังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญารายบุคคลโดยได้มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้สู่แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลตามข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการวัดแววความสามารถพิเศษของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
2566
20 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการ การประเมินคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 1. เพื่อให้ได้ข้อมูลผลประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของนักเรียน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในการดำเนินงานพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565
2. เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมินเป็นสารสนเทศที่นำไปใช้วางแผนปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ
ด้านการอ่านออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นที่สูงขึ้นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
4. เพื่อการประเมินคุณภาพของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในด้านความสามารถด้านภาษาไทย และความสามารถด้านคณิตศาสตร์
5. เพื่อให้ทุกโรงเรียนใช้ข้อสอบปลายปีที่มีมาตรฐานวัดการคิดขั้นสูง ในปีการศึกษา 2565
6. เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับใช้ในกระบวนการตัดสินใจและกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ เขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา
7. เพื่อพัฒนาครูด้านความรู้ ทักษะ สามารถวางแผนและสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลในชั้นเรียนได้อย่างหลากหลาย
8. เพื่อนำผลการทดสอบผู้เรียนไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
9. เพื่อนำผลการทดสอบผู้เรียนไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับเขตพื้นที่
70000
1.1 ดำเนินการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 สังกัด สพฐ. จำนวน 101 โรงเรียน 1 สาขา โรงเรียน ตชด. 2 โรงเรียน โรงเรียนสาธิต 1 โรงเรียน รวมเป็น 104 โรงเรียน 1 สาขา รวมผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 2,596 คน
1.2 ดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในวันที่ 15 มีนาคม 2566 สังกัด สพฐ. จำนวน 101 โรงเรียน 1 สาขา ตชด. 2 โรงเรียน โรงเรียนสาธิต 1 โรงเรียน รวมเป็น 104 โรงเรียน 1 สาขารวมผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 2,626 คน
1.3 ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการนำผลการประเมินมาใช้วางแผนพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์
2566
21 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 2.1 เพื่อคัดเลือกตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ ภาคเหนือ
2.2 เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ครูและผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้นำเสนอผลงานให้ปรากฏแก่สาธารณชนในระดับต่างๆ
405080
1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้เข้าร่วมงานการแข่งขันงานนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ ภาคเหนือ
2. จำนวนรายการ/กิจกรรมที่มีนักเรียนเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับเขตพื้นที่ และระดับชาติ ภาคเหนือ จำนวน 200 รายการ
3. รางวัลการแข่งขันในแต่ละกิจกรรมที่มีนักเรียนเป็นตัวแทนในระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่และระดับชาติภาคเหนือ ชนะเลิศที่ 1 ระดับชาติ จำนวน 13 รายการ รองชนะเลิศอันดับ 1 (ที่ 2) จำนวน 8 รายการ รองชนะเลิศอันดับ 2(ที่ 3) จำนวน 7 รายการ รวมเหรียญทอง 126 เหรียญ เหรียญเงิน 43 เหรียญ เหรียญทองแดง 20 เหรียญ เข้าร่วม 10 เหรียญ รวม 199 เหรียญ
2566
22 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการส่งเสริม สนับสนุนการสร้างโอกาส ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ประชากรวัยเรยน และการจัดทำฐานข้อมูลประชากรวัยเรียน 1) เพื่อให้โรงเรียนมีเขตพื้นที่บริการที่เหมาะสม และมีฐานข้อมูลประชากรวัยเรียนที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) เพื่อให้โรงเรียนสามารถลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนได้
3) เพื่อนิเทศ ติดตาม ประเมินผลผู้เรียนที่จัดการศึกษาโดยครอบครัวและศูนย์การเรียนให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เกิดทักษะการเรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
52000
1. โรงเรียนในสังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 จำนวน 102 โรงเรียนมีฐานข้อมูลประชากรวัยเรียน สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ส่งเสริม สนับสนุนและแก้ไขปัญหาการรับนักเรียนได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ตามความต้องการ ตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคลอย่างแท้จริง
2. เป็นไปตามรายงานกิจกรรมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครอบครัว และศูนย์การเรียน

2566
23 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
นิเทศ ติดตาม โครงการส่งเสริมการอ่านตามรอยพระราชจริยวัตรสมเด็จพระกนิษฐิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีงบประมาณ 2565 ๑. เพื่อนิเทศ ติดตาม ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน หนังสือพระราชนิพนธ์ ชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ พระราชนิพนธ์เล่มใหม่เรื่อง “ผี สั้น ๆ และประชุมพระราชนิพนธ์แสดงในวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 26 มีนาคม” ของโรงเรียนในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการ
๒. เพื่อจัดทำข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
50000 สถานศึกษาได้รับจัดสรรหนังสือพระราชนิพนธฯ ให้โรงเรียนที่ได้รับพิจารณาเข้าร่วมโครงการ โรงละ 8,000 บาท จำนวน 5 โรง ได้แก่
1) โรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยาคม
2) โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม
3) โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก
4) โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
5) โรงเรียนแม่ต๋ำตาดควันวิทยาคม และอยู่ในระหว่างดำเนินการนิเทศ ติดตาม
2566
24 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1.เพื่อบริหารการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสนามสอบในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
2.เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 อยู่ในกลุ่มยอดเยี่ยม
477150 1. สนามสอบในศูนย์สอบ สพม.เชียงรายสามารถจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริสุทธิ์ ยุติธรรม
2. โรงเรียนและครูผู้สอนในสังกัด สพม.เชียงราย ที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563 อยู่ในกลุ่มยอดเยี่ยม ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติฯ ในฐานสามารถดำเนินงานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจนเกิดผลสำเร็จ
3. โรงเรียนในสังกัด สพม.เชียงราย ใช้ข้อมูลจากรายงานผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2564 เพื่อการวางแผนส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
4. โรงเรียนในสังกัด สพม.เชียงราย มีแนวทางและมีแบบอย่างในการดำเนินงานเพื่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2566
25 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
พัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรด้านการบริหารงานบุคคล การเงินพัสดุ และวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านการบริหารงานบุคคล การเงินพัสดุ และงานวินัย ให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย 120000 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านการบริหารงานบุคคล การเงินพัสดุ และงานวินัย ตระหนักถึงภาระหน้าที่ มีการปฏิบัติงานเต็มตามศักยภาพ อย่างมีมาตรฐานแห่งวิชาชีพ โดยยึดมั่นตามระเบียบ กฎหมาย วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 2566
26 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
สร้างเสริมสิทธิและโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาค ปีการศึกษา 2565 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ได้รับโอกาส ทางการศึกษาเพิ่มขึ้นและได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
3. เพื่อติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กที่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ได้รับการศึกษาอย่างน้อยจนจบการศึกษาภาคบังคับ และหรือได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงการฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาฝีมือเพื่อการมีงานทำ
5. เพื่อดูแล ช่วยเหลือ ส่งต่อ โดยบูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
6. เพื่อป้องกันเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาหลุดออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยส่งเสริมการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
20000 การรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 ผลที่ได้รับ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ โรงเรียนในสังกัดจำนวน 41 โรงเรียน ดำเนินการรับนักเรียนตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 ครบทุกแห่ง เป้าหมาย นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนในสังกัดได้เข้าเรียนตามความต้องการและศักยภาพของนักเรียนและผู้ปกครองโดยผ่านกระบวนการรับนักเรียนตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และประกาศการรับนักเรียนของโรงเรียน อย่างเคร่งครัด เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส ผลที่ได้ สรุปผลการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 ข้อมูล ณ 10 มิถุนายน 2565 ดังนี้ 1. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1) ห้องเรียนพิเศษโรงเรียนทั่วไป แผนการรับ จำนวน 712 คน จำนวน 22 ห้อง สมัคร จำนวน 1,945 คน เข้าสอบ จำนวน 973 คน รับไว้ จำนวน 660 คน จำนวน 22 ห้อง ขาด/เกิน จำนวน 52 คน จำนวน - ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 92.70 ของแผนการรับ 2) ห้องเรียนปกติโรงเรียนทั่วไป แผนการรับ จำนวน 5,960 คน จำนวน 149 ห้อง สมัคร จำนวน 5,454 คน เข้าสอบ จำนวน 2,195 คน รับไว้ จำนวน 4,807 ห้อง จำนวน 150 คน ขาด/เกิน จำนวน 1,153 คน จำนวน 1 ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 80.65 ของแผนการรับ 3) โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเชียงราย แผนการรับ จำนวน 96 คน จำนวน 4 ห้อง สมัคร จำนวน 949 คน เข้าสอบ จำนวน 803 คน รับไว้ จำนวน 96 คน จำนวน 4 ห้อง ขาด/เกิน จำนวน - คน จำนวน - ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 100 ของแผนการรับ 4) รวมทั้งสิ้น(ห้องเรียนพิเศษ+ห้องเรียนปกติ) แผนการรับ จำนวน 6,768 คน จำนวน 175 ห้อง สมัคร จำนวน 8,348 คน เข้าสอบ จำนวน 3,971 คน รับไว้ จำนวน 5,563 คน จำนวน 176 ห้อง ขาด/เกิน จำนวน 1,205 คน จำนวน 1 ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 82.20 ของแผนการรับ 2.ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 1) ห้องเรียนพิเศษโรงเรียนทั่วไป แผนการรับ จำนวน 771 คน จำนวน 23 ห้อง สมัคร จำนวน 1,508 คน เข้าสอบ จำนวน 899 คน รับไว้ จำนวน 712 คน จำนวน 23 ห้อง ขาด/เกิน จำนวน 59 คน จำนวน - ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 92.35 ของแผนการรับ 2)ห้องเรียนปกติโรงเรียนทั่วไป แผนการรับ จำนวน 6,160 คน จำนวน 154 ห้อง สมัคร จำนวน 5,039 คน เข้าสอบ จำนวน 957 คน รับไว้ จำนวน 4,780 คน จำนวน 153 ห้อง ขาด/เกิน จำนวน 1,380 คน จำนวน 1 ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 77.60 ของแผนการรับ 3) โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเชียงราย แผนการรับ จำนวน 144 คน จำนวน 6 ห้อง สมัคร จำนวน 618 คน เข้าสอบ จำนวน 598 คน รับไว้ จำนวน 144 คน จำนวน 6 ห้อง ขาด/เกิน จำนวน - คน จำนวน - ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 100 ของแผนการรับ 4) รวมทั้งสิ้น(ห้องเรียนพิเศษ+ห้องเรียนปกติ) แผนการรับ จำนวน 7,075 คน จำนวน 183 ห้อง สมัคร จำนวน 7,165 คน เข้าสอบ จำนวน 2,454 คน รับไว้ จำนวน 5,636 คน จำนวน 182 ห้อง ขาด/เกิน จำนวน 1,439 คน จำนวน 1 ห้อง รับไว้คิดเป็นร้อยละ 79.66 ของแผนการรับ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ โรงเรียนในสังกัดดำเนินการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 ตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการ รับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป้าหมาย โรงเรียนในสังกัดจำนวน 41โรงเรียน ผลที่ได้ 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 อย่างเคร่งครัด และครบถ้วน และมีการกำกับ ดูแลการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างใกล้ชิด เช่นการกำกับติดตามการรายงานของโรงเรียนทางเว็บไซต์ระบบการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 ของสพฐ. การกำกับติดตามตรวจเยี่ยมโรงเรียนในห้วงการรับนักเรียนเป็นต้น 2. โรงเรียนในสังกัดสามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การรับสมัคร การจัดสอบ การรายงานตัว การมอบตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรการของสพฐ.และกระทรวงสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 3. โรงเรียนในสังกัดรายงานทางเว็บไซต์ระบบการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 ของสพฐ. ได้ครบทุกโรงเรียนตามปฏิทินการรับนักเรียน 4. การดำเนินงานการรับนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายและโรงเรียนดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีปัญหาการฟ้องร้องในความไม่เป็นธรรม นักเรียนทุกคนมีสถานที่เรียนตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 5. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ขอความอนุเคราะห์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบการดำเนินการรับนักเรียนตามมาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 โดยเฉพาะสถานศึกษาหรือโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และพิจารณาประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ กับสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด เพื่อร่วมลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวของสถานศึกษาหรือโรงเรียนที่มีการสอบคัดเลือกเข้าเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงทั่วประเทศ จังหวัดเชียงรายมีโรงเรียนแข่งขันสูงคือโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมและโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ซึ่งคณะติดตามฯได้เข้าไปติดตามการรับนักเรียนแล้วโรงเรียนได้ดำเนินการตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 อย่างเคร่งครัดไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ภาพรวมผลการดำเนินการคิดเป็น ร้อยละ100 ผลผลิตของโครงการเป้าหมายตามแผนที่เกิดขึ้นจริง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายได้ดำเนินการรับนักเรียนตามบทบาทหน้าที่ตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 ดังนี้ 1. มีข้อมูลในการวางแผนการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในสังกัด 2. มีคณะกรรมการรับนักเรียนระดับจังหวัดเชียงราย 3. มีศูนย์ประสานการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 จังหวัดเชียงราย 4. มีประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 และประกาศที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดเชียงราย ดังนี้ 1) ประกาศรายชื่อโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีการศึกษา 2565 2) ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่จัดการศึกษาด้วยวัตถุประสงค์พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีการศึกษา 2565 3) ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่จัดห้องเรียนพิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีการศึกษา 2565 4) ประกาศสัดส่วนการรับนักเรียนห้องเรียนปกติโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีการศึกษา 2565 5) ประกาศแผนการรับนักเรียนชั้น ม.1 และชั้น ม.4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีการศึกษา 2565 6) มาตรการป้องกัน ป้องปราม กำกับ ติดตาม การดำเนินงานการรับนักเรียนในสังกัดของคณะกรรมการรับนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีการศึกษา 2565 5. มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 (การรับสมัคร การคัดเลือก การรายงานตัว การมอบตัว การเตรียมเปิดภาคเรียน) ของโรงเรียนในสังกัด 6. มีการกำกับ ติดตามให้โรงเรียนรายงานทางเว็บไซต์สพฐ. ครบทุกโรงเรียน 7. มีการรายงานผลการรับนักเรียนเมื่อสิ้นสุดการรับนักเรียนให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเชียงรายทราบ ผลลัพธ์ของโครงการ ตามแผนที่คาดว่าเกิดขึ้นจริง นักเรียนที่จบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนทุกสังกัดในจังหวัดเชียงราย ได้เข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า ตามความต้องการและตามศักยภาพของนักเรียนครบทุกคน ผลกระทบ - เชิงบวก การรับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนรับทราบข่าวสารประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง - เชิงลบ เนื่องด้วยเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้การดำเนินงานการรับนักเรียนต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบออนไลน์ทำให้มีข้อจำกัดในการรับนักเรียนไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา การติดตามเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน “พาน้องกลับมาเรียน” ผลที่ได้รับ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ โรงเรียนในสังกัด จำนวน 30 โรงเรียน ติดตามเด็กที่หลุดออกจากระบบตามรายชื่อที่ได้รับ จำนวน 135 คน เป้าหมาย 1.นักเรียนที่หลุดออกจากระบบตามรายชื่อที่ได้รับ จำนวน 135 คน ได้รับการติดตามค้นหาครบทุกคน โดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบ ครูประจำชั้น นักเรียน ผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครอง และหน่วยงานในท้องถิ่นเช่น สำนักงานเทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน ในกรณีการติดตามนักเรียนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตามข้อมูลเดิม 2. นักเรียนที่หลุดออกจากระบบตามรายชื่อที่ได้รับ จำนวน 135 คน ได้รับการส่งเสริมให้กลับมาสู่ระบบการศึกษา จำนวน 109 คน และไม่ประสงค์จะเข้าศึกษา จำนวน 26 คน ซึ่งโรงเรียนได้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคนตามศักยภาพและสถานภาพทางครอบครัว ซึ่งโรงเรียนได้แนะแนวการเรียนต่อและแนะนำการประกอบอาชีพให้กับนักเรียนทุกคน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันได้รับการติดตามและให้ความช่วยเหลือตามความประสงค์เหตุผลความจำเป็นของนักเรียน เป้าหมาย โรงเรียนในสังกัด จำนวน 30 โรงเรียน ติดตามเด็กที่หลุดออกจากระบบตามรายชื่อที่ได้รับ จำนวน 135 คน ผลที่ได้ 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัด 30 โรงเรียนได้ดำเนินการค้นหาติดตามเด็กตกหล่นออกและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และรายงานในแอ็พพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน”และส่งเสริมให้งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการป้องกัน แก้ไขปัญหา และส่งต่อเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันของโรงเรียนเข้มแข็งให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ 2. โรงเรียนในสังกัดสามารถดำเนินการกำกับติดตาม แก้ไขปัญหาให้ความช่วยเหลือและส่งต่อเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันได้ครบทุกคน 3. โรงเรียนในสังกัดรายงานทางแอ็พพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน” ได้ครบถ้วนตามกำหนดของสพฐ. ภาพรวมผลการดำเนินการคิดเป็น ร้อยละ100 ผลผลิตของโครงการเป้าหมายตามแผนที่เกิดขึ้นจริง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายได้ดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและรายงานในแอ็พพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน” ตามแนวทาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีหนังสือแจ้งโรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียน สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ วางแผนและแนวทางในการดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา 2. มีคณะกรรมการดำเนินงานนำเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน เข้าสู่ระบบการศึกษา“พาน้องกลับมาเรียน” ของเขตพื้นที่การศึกษา 3. มีศูนย์ประสานงาน “พาน้องกลับมาเรียน” ของเขตพื้นที่การศึกษา 4. มีกลุ่มไลน์ครูผู้รับผิดชอบทุกโรงเรียนเพื่อประสานงานและสร้างการรับรู้ได้อย่างทันท่วงที ตลอดเวลา 5. ได้กำกับติดตามโรงเรียนให้รายงานไปยังสพฐ.ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่น “พาน้องกลับมาเรียน” ครบทุกคนและตามกำหนดของสพฐ. 6. มีการกำกับติดตามนักเรียนที่บ้านในกรณีที่น่าสนใจเพื่อให้ความช่วยเหลือ 7. สรุปรายงานผลการดำเนินงาน ตัวอย่างกรณีศึกษาที่ภาคภูมิใจ (ถ้ามี) (สภาพปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา การดูแล ช่วยเหลือและส่งต่อแนบภาพถ่าย) 1.นักเรียนชื่อนางสาวภัทรธิดา กุลแก้ว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพานพิทยาคม ที่อยู่บ้านเลขที่ 146 หมู่ที่ 20 ต.เจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย มีปัญหาด้านสุขภาพซึ่งมีอาการของโรคซึมเศร้า ไม่สามารถเรียนในระบบได้มีอาการชักหากมีความเครียด จึงได้หยุดเรียนและเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล ซึ่งนักเรียนอาศัยอยู่กับมารดาและตา ซึ่งตาได้เสียชีวิตเมื่อเดือนมีนาคม 2565 พ่อแม่หย่าร้างตั้งแต่นักเรียน ยังเล็ก และในขณะนี้นักเรียนได้รักษาตัวจนอาการดีขึ้นและเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพาน และหากจบการศึกษาแล้วจะเรียนหลักสูตรระยะสั้นวิชาชีพผู้ช่วยพยาบาล 6 เดือน และจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2566 การดำเนินการของโรงเรียนพานพิทยาคม โรงเรียนโดยทีมครูประจำชั้นได้ติดตามนักเรียนไปที่บ้านพัก สอบถาม ปัญหา เหตุผล ความจำเป็นและความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองที่จะให้โรงเรียนได้ช่วยเหลือ ครูได้แนะแนวทางในการเรียนต่อในระดับวิชาชีพหรือเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย การดำเนินการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายได้มีการออกติดตามนักเรียน เป็นรายกรณีที่น่าสนใจโดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำกับติดตามการดำเนินงานโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” ของโรงเรียนพานพิทยาคม ณ โรงเรียน โดยผู้อำนวยการโรงเรียนพานพิทยาคมและทีมครูที่รับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ให้ข้อมูล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงได้ให้แนวทางแก่โรงเรียนพานพิทยาคมให้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปตามนโยบาย และคณะฯได้ตรวจเยี่ยมนักเรียนในรายกรณีของนางสาวภัทรธิดา กุลแก้ว ที่บ้านพักเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายได้แนะแนวให้กับผู้ปกครองในการดูแลนักเรียนในการเรียนต่อในสายอาชีพหรือเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามศักยภาพของตัวนักเรียนและผู้ปกครองซึ่งสามารถปรึกษากับคณะครูโรงเรียนพานพิทยาคมหรือศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพานเพื่อจะได้หากแนวทางวิธีการที่จะเข้าเรียนต่อหรือประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับนักเรียนได้ และนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพของนักเรียน 2. นักเรียนชื่อนางสาวศิรดา ตาวงค์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม บิดาชื่อ นายเฉลิมชัย ตาวงค์ มารดาชื่อ นางจันทนา ตาวงค์ อยู่บ้านเลขที่ 209 หมู่ 12 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย แจ้งไว้ข้อมูลเบื้องต้นไม่ประสงค์เรียนต่อ และอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ มีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาที่พบคือ นักเรียนมีสุขภาพไม่แข็งแรง และความวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียน จึงขอพักรักษาตัวเป็นเวลายาวนานต่อเนื่อง การดำเนินการของโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม โรงเรียนโดยทีมครูประจำชั้นได้ติดตามนักเรียนไปที่บ้านพัก สอบถาม ปัญหา เหตุผลความจำเป็นและความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง ครูได้แนะแนวทางในการให้นักเรียนกลับเข้าเรียนให้เรียนจบการศึกษาภาคบังคับโดยสามารถกลับเข้ามาเรียนในโรงเรียนเดิมคือโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคมหรือโรงเรียน ขยายโอกาสที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการหรือโรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม และการเข้าเรียนต่อที่การศึกษานอกโรงเรียนและตามอัธยาศัยอำเภอเวียงป่าเป้า ซึ่งผู้ปกครองและนักเรียนได้ตกลงที่จะเรียนต่อที่การศึกษานอกโรงเรียนและตามอัธยาศัยอำเภอเวียงป่าเป้า ในส่วนของนักเรียนที่มีพัฒนาการด้านทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น นักเรียนมีความชอบด้านช่างเสริมสวย มีการปรึกษาร่วมกันกับผู้ปกครองนักเรียนยินดีที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนและพัฒนาเพื่อประกอบวิชาชีพของตนเองต่อไป การดำเนินการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายได้มีการออกกำลังติดตามนักเรียน เป็นรายกรณีที่น่าสนใจโดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายได้มอบหมายให้นายปรีชารัตน์ รินทระ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กำกับติดตามการดำเนินงานโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” ของโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ณ โรงเรียน และตรวจเยี่ยมนักเรียนในรายกรณีของนางสาวศิรดา ตาวงค์ ที่บ้านพักเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ซึ่งได้ให้แนวทางโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นไปตามนโยบาย และแนะแนวทางให้กับผู้ปกครองในการดูแลนักเรียนในการเรียนต่อจนจบการศึกษาภาคบังคับ และแนวทางในการสร้างอาชีพให้นักเรียนตามความชอบและความถนัด ผลลัพธ์ของโครงการ ตามแผนที่คาดว่าเกิดขึ้นจริง เด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ปีการศึกษา 2564 ในสังกัดได้รับการกำกับ ติดตาม แก้ไขปัญหาให้การช่วยเหลือและส่งต่อครบทุกคน โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง 2566
27 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
พัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา 1. เพื่อ ส่งเสริม พัฒนา บุคลากรกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ให้มีสมรรถนะตามสายงานอย่างมืออาชีพ
2. เพื่อ นิเทศ ติดตาม ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
100000 บุคลากรกลุ่มนิเทศได่้รับการพัฒนาศักยภาพ และโรงเรียนในสังกัดได้รับการนิเทศกำกับติดตาม 2566
28 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
โครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 1 เพื่อสนับสนุนการจัดการแข่งขันศิลปหัตถกรรมสำหรับนักเรียนของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ในระดับเขตพื้นที่
2 เพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นตัวแทนไปแข่งขันศิลปหัตถกรรมในระดับภาคเหนือ (ระดับชาติ)
3 เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมงานศิลปะหัตถกรรมแก่นักเรียนและบุคลากรในสังกัด
4 เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้แสดงความสามารถที่เป็นเลิศด้านวิชาการ ศิลปหัตถกรรม และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน
100000 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันประเภทและลู่การแข่งขันโรงเรียนมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย ทุกสังกัด รวมโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดชั้นสูงสุดถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้การดำเนินงานร่วมกับโรงเรียนทุกสังกัดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้กำหนดจัดการประชุมร่วมกับผู้แทนโรงเรียนทุกสังกัด ครั้งที่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมดอยจอมทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมดอยจอมทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ได้แต่งตั้งบุคลากรในสังกัดของท่านร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2565 ขอให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และขอเชิญคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันทุกท่าน เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงและร่วมวางแผนการดำเนินการจัดการแข่งขัน ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงเรียนที่เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน
3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย เขิญบุคลากรในสังกัดที่ทำหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลการแข่งขันและการรายงานผลการแข่งขันบนเว็บไซต์งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2565 เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงการเตรียมการและวิธีการดำเนินงาน ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.30 น. ด้วยระบบการประชุมออนไลน์ Google Meet https://meet.google.com/vpx-zozn-pcy
4) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ได้รับการประสานจากประธานเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษาเชียงราย ขอจัดการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดและต่างสังกัด เพื่อติดตามการดำเนินงาน และหารือแนวทางการดำเนินการจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนให้สอดคล้องกับประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมพระยอด โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
5) สนับสนุนการดำเนินการจัดการแข่งขันศิลปหัตถกรรมสำหรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่ - ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน งบประมาณ 85,000 บาท - บริหารจัดการระบบลงทะเบียนและรายงานผลการแข่งขัน งบประมาณ 15,000 บาท
6) ดำเนินการจัดการแข่งขัน อ้างอิงตามประกาศ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 รวม 232 รายการหลัก ผลการแข่งขันสรุปดังนี้ - นักเรียนในสังกัด จำนวน 41 โรงเรียน รวม 8,097 คน ได้รับการสนับสนุนและโอกาสในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมในระดับเขตพื้นที่การศึกษา - นักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอน ม. 1 - ม. 6 ทุกสังกัด จำนวน 20 โรงเรียน รวม 2,241 คน ในจังหวัดเชียงราย ได้รับการสนับสนุนและโอกาสในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
7) กำกับ ติดตามและสรุปผลการจัดการแข่งขันศิลปหัตถกรรมสำหรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่ด้วยการมอบหมายบุคลากรในสังกัดกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาและกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานทุกสนามการแข่งขัน พร้อมทั้ง ติดตามผ่านระบบบริหารจัดการระบบลงทะบียนและรายงานผลการแข่งขันตลอดระยะเวลาในการดำเนินการจัดการแข่งขัน
2566
29 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อบริหารการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 ของสนามสอบในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย 345184 1. สนามสอบ 41 สนามสอบ ในศูนย์สอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายสามารถจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริสุทธิ์ ยุติธรรม
2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายนำข้อมูลจากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ไปใช้วางแผนส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2566
30 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) ปีการศึกษา 2565 เพื่อบริหารการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) ปีการศึกษา 2565 ของสนามสอบในศูนย์ประสานงานการจัดสอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย 1116363 1. ศูนย์ประสานการจัดสอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายสามารถดำเนินการจัดสอบเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยผลการทดสอบสามารถสะท้อนความรู้และความคิดของผู้เรียนอย่างแท้จริง
2. โรงเรียนในจังหวัดเชียงรายที่มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ประสงค์เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) ปีการศึกษา 2565 มีข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ที่ถูกต้องและสามารถนำไปใช้วางแผนส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2566
31 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การดำเนินงาน การนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน 1 เพื่อนิเทศการดำเนินงานเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตของโรงเรียนให้เกิดความปลอดภัยสำหรับนักเรียนในโรงเรียน
2 เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพศวิถีศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศ โดย
1) การอบรมออนไลน์หลักสูตรการสอนเพศวิถีศึกษาผ่านระบบ E-learning ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอนเพศวิถีศึกษา
3) การตรวจแผนจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
4) การเยี่ยมชั้นเรียน
5000 จากการนิเทศติดตามการดำเนินงานส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต โดยการบูรณาการใน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ครบ 41 โรงเรียน 2566
32 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาด้วยการขับเคลื่อนการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีงบประมาณ 2566 เพื่อสื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก ตลอดจนสร้างเครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพการศึกษา ให้แก่ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ระดับสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ 20000 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ระดับสถานศึกษาของทุกโรงเรียนในสังกัด มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ 2566
33 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินการและวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 1. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรหลักของสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ เพื่อการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรหลักของสถานศึกษา มีความเข้าใจที่ตรงกันในแนวปฏิบัติ การดำเนินงานการขับเคลื่อนการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และระบบการประเมินวิทยฐานะ รูปแบบ Digital Performance Appraisal (DPA)
50000 ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูที่ทำหน้าที่เป็นบุคลากรหลักในการขับเคลื่อน PA ของโรงเรียน มีความรู้ ความเข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบ 2566
34 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วันสำคัญทางศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วันสำคัญทางศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 20000 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ประกอบกิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม จำนวน 15 วัน ตามปฏิทิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566
35 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย 1 เพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรภายในสังกัดหน่วยงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
2 เพื่อพัฒนาบุคลากรภายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ได้มีวิสัยทัศน์และแนวคิดใหม่ ทำให้มีผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่ยอมรับของบุคคลในวิชาชีพในสังคม รวมทั้งเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
3 เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนางานของบุคลากรแต่ละคน
415000 1. บุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 64 คน ได้รับการอบรมพัฒนา
2. บุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 64 คน มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน สร้างขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน เป็นการเสริมสมรรถนะและศักยภาพในการพัฒนาองค์กร ให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีความรวดเร็ว และยึดหลักธรรมาภิบาล
2566
36 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การตรวจสอบภายในสถานศึกษาเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 1 เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลในรายงานการเงินของสถานศึกษา มีความถูกต้อง เพียงพอ ครบถ้วน เชื่อถือได้ และทันเวลา ผู้บริหารสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจได้
2 เพื่อให้ทราบว่าการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชีและพัสดุ ของสถานศึกษาเป็นไปตามระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและนโยบายที่กำหนด
3 เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน และเสนอแนะวิธีการหรือมาตรการปรับปรุงแก้ไขการบริหารงาน และการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามกฎหมาย และคุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไป
4 เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการได้ทราบปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด และสามารถพิจารณาสั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และทันเหตุการณ์
40000 การตรวจสอบภายในสถานศึกษา จำนวน 10 แห่ง มีผลการตรวจสอบการบริหารงบประมาณด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ ให้มีความถูกต้อง เพียงพอ ครบถ้วน เชื่อถือได้ และทันเวลา 2566
37 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
ส่งเสริมการแข่งขันกีฬานักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย 1 เพื่อสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
2 เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านกีฬาแก่นักเรียนที่มีศักยภาพพิเศษด้านการกีฬาให้สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในระดับต่างๆ
100000 กำหนดการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเชียงราย ประจำปีการศึกษา2565 "เวียงป่าเป้าเกมส์ 2022 " ในระหว่างวันที่ 15 - 22 มกราคม 2566 ณ สนามกีฬาโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม 2566
38 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ปีงบประมาณ 2566 เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง สพฐ. OBECQA ในระดับ ScQA, ระดับ OBECQA และระดับ SpmcrQA 20000 การดำเนินการประชุมปฏิบัติการสื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง สพฐ.ระดับ ScQA, ระดับ OBECQA และระดับ SpmcrQA และแนวทางการจัดทำรายงานการประเมินของสถานศึกษา สามารถครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯ โดยใช้งบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด 2566
39 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่ต้นแบบหลักสูตรสถานศึกษาอิงสมรรถนะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 1 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาตามแนวทางการจัดการศึกษาด้วยระบบหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency – Based Curriculum : CBC) ที่เหมาะสมกับบริบทและความต้องการ สามารถนำไปใช้ได้จริง
2 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
3 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนา สร้างสรรค์ ผลิตและใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
110000 ผู้บริหาร, หัวหน้างานวิชาการ, หัวหน้าหลักสูตร และตัวแทนครู 8 กลุ่มสาระ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 110 คน เข้ารับการพัฒนาหัวข้อ การอบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่ต้นแบบหลักสูตรสถานศึกษาอิงสมรรถนะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21” จำนวน 2 วัน ณ ห้องประชุมสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีร่างกำหนดการดำเนินงาน พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อต่อยอดองความรู้จากการอบรมตามแนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน รวมทั้งการนำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนลงสู่ชั้นเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะหลักของหลักสูตรสถานศึกษา 2566
40 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน 1 เพื่อจัดจ้างข้าราชการครู สายงานการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว จำนวน 1 คน
2 เพื่อจัดสรรให้สถานศึกษาในสังกัดที่มีสภาพอัตรากำลังครูไม่ครบตามสาระ เพื่อแก้ปัญหาครูตามสภาพจริง
170000 กลุ่มเป้าหมายได้รับทักษะการเรียนรู้ด้านกีฬา ซึ่ง ครูผู้ทรงที่ได้รับจัดสรรมีทักษะการเรียนการสอนตรงเป้าหมาย ให้โรงเรียนอยู่ในระดับการพัฒนาห้องเรียนการกีฬาเพิ่มต่อไปในอนาคต 2566
41 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพและส่งเสริมความร่วมมือในการฝึกวิชาชีพของนักเรียน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สพป.เชียงราย เขต 1 1. เพื่อจัดทำหลักสูตรและจัดกระบวนการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียน
2. เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งสามารถจำหน่ายได้ ส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียนของผู้เรียน
3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับผู้เรียน
30000
(1) เชิงปริมาณ
โรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 26 แห่ง มีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะอาชีพที่สอดคล้อง กับนโยบายและจุดเน้น และได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับผู้เรียน
(2) เชิงคุณภาพ
ร้อยละของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพตามความถนัดและความสนใจ
2566
42 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การพัฒนาปรับปรุง ระบบข้อมูลสารสนเทศของสำนักงาน (ศธ 4300-66-0018) 1. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. เพื่อพัฒนาเครือข่ายการปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. เพื่อรวบรวม จัดการระบบข้อมูลสารสนเทศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นปัจจุบัน ทันสมัยสะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์
20000 สพม.เชียงราย มีระบบสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการให้บริการแก่ผู้รับบริการเช่น สถานศึกษา นักเรียน และให้บริการด้านข้อมูลเพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลเพื่อจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ สำหรับนักเรียนในสังกัด ให้เป็นคนดี คนเก่ง พร้อมใช้ในศตวรรษที่ 21 2566
43 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
โครงการอบรมส่งเสริมผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ (ศธ 4300-66-0019) 1. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้ารับการพัฒนามีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์บุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อ การเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ
2. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ที่เข้ารับการพัฒนาได้รับการพัฒนาสมรรถนะและสามารถบริหาร สถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา พัฒนาตนเอง
106000 1. รองผู้อำนวยการโรงเรียน และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 85 คน ได้เข้าร่วมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566
2. รองผู้อำนวยการโรงเรียน และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 85 คน มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน มีขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับความรู้จากการฝึกอบรม และมีขวัญและกำลังใจ เพื่อจะได้มีร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
2566
44 สพป.เชียงราย เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
โครงการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 1) เพื่อยกระดับและพัฒนาโรงเรียนจัดการศึกษาเรียนรวมคุณภาพต้นแบบ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
2) เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านความรู้และทักษะการคัดกรองตามหลักสูตรผู้ดำเนินการคัดกรองคนพิการทางศึกษา
3) เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านความรู้และทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
4) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแสดงผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
และนวัตกรรมด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
5) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผลเชิงรุก โรงเรียนจัดการศึกษาเรียนรวมคุณภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพทุกมิติ โดยความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภายในเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาในสังกัดและเครือข่าย สหวิชาชีพ
40000
(1) เชิงปริมาณ
(1) ร้อยละ 90 ของเด็กพิการได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมอย่าง
เต็มศักยภาพ
(2) ร้อยละ 80 ของโรงเรียนจัดการเรียนรวมคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย มีการบริหารจัดการภายใต้โครงสร้าง SEAT ให้มีคุณภาพทั้งด้านนักเรียน (S-Student) ด้านสภาพแวดล้อม (E–Environment) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (A–Activities)และด้านเครื่องมือ (T–Tools) ระดับดี ขึ้นไป
(3) ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมตามหลักสูตรผู้ดำเนินการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
(4) ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ
การจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
(5) ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมนำเสนอผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) และนวัตกรรมด้านการจัดการศึกษาเรียนรวมระดับเขตพื้นที่การศึกษา สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้
(6) ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนจัดการเรียนรวม ในสังกัดที่ได้รับการนิเทศ ติดตาม มีข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(2) เชิงคุณภาพ
(1) เด็กพิการทุกคนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล มีผลการพัฒนาผ่านตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
(2) โรงเรียนจัดการเรียนรวมคุณภาพ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีการบริหารจัดการภายใต้โครงสร้าง SEAT ให้มีคุณภาพทั้งด้านนักเรียน (S-Student) ด้านสภาพแวดล้อม (E–Environment) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (A–Activities)และด้านเครื่องมือ (T–Tools) เพื่อให้นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทุกคนให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละรายบุคคล
(3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนจัดการเรียนรวม มีความรู้และสามารถคัดกรองนักเรียนได้ถูกตามสอดคล้องตามกระบวนการคัดกรองและเกณฑ์การวินิจฉัย
(4) ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนจัดการเรียนรวม มีความรู้ตามหลักสูตร
การพัฒนา ผ่านร้อยละ 80 ขึ้นไปตามเกณฑ์ที่หลักสูตรพัฒนากำหนด และสามารถจัดการเรียนรู้ พัฒนาสื่อนวัตกรรม และวัดผลประเมินผลสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษแต่ละบุคคล โดยมีผลการนิเทศอยู่ในระดับมากขึ้นไป
(5) โรงเรียนจัดการเรียนรวมและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) และนวัตกรรมด้านการจัดการศึกษาเรียนรวมผ่านร้อยละ
70 ขึ้นไป ตามเกณฑ์การตัดสินและเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้
(6) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีผลการนิเทศ ติดตามการจัดการศึกษาเรียนรวม ระดับมากขึ้นไป
2566
45 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
โครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ หลักสูตรวิชาการอยู่ค่ายพักแรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕66 (ศธ 4300-66-0024) 1. เพื่อให้บุคลากรทางการลูกเสือมีความรู้ความเข้าใจวิชาการอยู่ค่ายพักแรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. เพื่อให้บุคลากรทางการลูกเสือ มีทักษะ วิธีการดำเนินการ วิชาการอยู่ค่ายพักแรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้บุคลากรทางการลูกเสือและผู้ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือได้นำความรู้ไปถ่ายทอดแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
253000 1. ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ 4 ภูมิภาค หลักสูตรวิชาการจัดค่ายพักแรม ประจำปีงบประมาณ 2566
2. หลักการและเหตุผล ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยคาดหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ตระหนักถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมทางสังคม และเทคโนโลยี ไปอย่างรวดเร็ว จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ 4 ภูมิภาค หลักสูตรวิชาการอยู่ค่ายพักแรม ให้แก่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการลูกเสือและผู้ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือ เนื่องจากผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการลูกเสือของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในปัจจุบันซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ใหม่ ทำให้ยังขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดกิจกรรมลูกเสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาการอยู่ค่ายพักแรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนจัดกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาที่สามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตได้จริงทั้งในเหตุการณ์ปกติ และเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้น เพื่อให้ครูผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการลูกเสือและผู้ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือได้นำความรู้ไปถ่ายทอดแก่ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดจัดการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ หลักสูตรวิชาการอยู่ค่ายพักแรม 4 ภูมิภาค โดยมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 2 แห่ง เป็นผู้ดำเนินงานโครงการตามแนวทางการฝึกอบรมตามหลักสูตร
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อให้บุคลากรทางการลูกเสือมีความรู้ความเข้าใจวิชาการอยู่ค่ายพักแรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
3.2 เพื่อให้บุคลากรทางการลูกเสือ มีทักษะ วิธีการดำเนินการ วิชาการอยู่ค่ายพักแรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 เพื่อให้บุคลากรทางการลูกเสือและผู้ให้การสนับสนุนกิจการลูกเสือได้นำความรู้ไปถ่ายทอดแก่ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เป้าหมาย
4.1 เชิงปริมาณ - ฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ) หลักสูตรวิชาการอยู่ค่าย พักแรม จำนวน 79 คน
4.2 เชิงคุณภาพ - บุคลากรทางการลูกเสือ ที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ นำทักษะวิชาการอยู่ค่ายพักแรม ไปพัฒนาการจัดกิจกรรมลูกเสือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
5.1 เป็นบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์อย่างน้อย ๒ ท่อน
5.2 มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๓ ปี
5.3 มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง
5.4 มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยดี สมควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน
5.5 ไม่เป็นผู้ดื่มของมึนเมาหรือไม่เสพสิ่งเสพติดชนิดใดทั้งสิ้น
5.6 ได้รับการคัดเลือกและอนุญาตจากสถานศึกษาหรือหน่วยงานส่งเข้ารับการฝึกอบรม
6. หลักสูตรและวิธีการฝึกอบรม
6.1 ใช้หลักสูตรของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
6.2 ใช้วิธีการฝึกอบรมโดยการบรรยาย อภิปราย สาธิต ประชุมกลุ่ม ปฏิบัติจริงและการอยู่ค่ายพักแรมตามแบบลูกเสือ
7. ระยะเวลาและสถานที่ในการอบรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย เป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรม ระหว่างวันที่ 2 – 6 ธันวาคม 2565 ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดเชียงรายแห่งที่ 2 (ค่ายดอนมูล) ตำบลเมืองชุม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
8. การรับสมัคร ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมัครผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด เพื่อนำส่งสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดการฝึกอบรมแต่ละภูมิภาค
9. เอกสารที่ต้องจัดส่งในการสมัคร (ถ้าไม่ส่งจะไม่พิจารณาคัดเลือกในการอบรม)
9.1 มีหนังสือนำส่งจากหน่วยงานต้นสังกัด
9.2 ใบสมัคร
9.3 สำเนาวุฒิบัตรที่ได้รับเครื่องหมายขั้นวูดแบดจ์ ๒ ท่อนขึ้นไป 10. การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม 10.1 สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม และเรียงลำดับตามความจำเป็นและเหมาะสม 10.2 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดรวบรวมเอกสารจัดทำงบหน้า บัญชีรายชื่อ ใบสมัคร และเอกสารที่เกี่ยวข้องส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดการฝึกอบรมแต่ละภูมิภาค 10.3 ใบสมัครที่ส่งทางโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือส่งทางไปรษณีย์ จะพิจารณาจากวันที่ลงรับหนังสือของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่รับสมัครเป็นเกณฑ์การตัดสิน 10.4 จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ เท่านั้น 10.5 ถ้าได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรม แต่ไม่สามารถไปเข้ารับการอบรมได้ ตามวัน เวลา ที่กำหนด ให้แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดการฝึกอบรมก่อนอย่างน้อย ๗ วัน เพื่อที่จะแจ้ง ผู้คัดเลือกคนต่อไปเข้ารับการฝึกอบรมแทน และให้ชี้แจงผ่านหน่วยงานต้นสังกัด แจ้งต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดการฝึกอบรม เพื่อรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป 11. การรายงานตัวเข้ารับการอบรม ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรม ให้แต่งเครื่องแบบลูกเสือไปรายงานตัวเข้ารับการฝึกอบรม ในวันแรกของการฝึกอบรม ระหว่างเวลา 08.00 – 08.30 น. ณ สถานที่ฝึกอบรมของแต่ละภูมิภาค ถ้ามาช้ากว่าเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์ และให้ทำหนังสือชี้แจงจากสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรม ใช้งบประมาณของสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม จากแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ โครงการเสริมสร้างระเบียบวินัย คุณธรรม และจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมหลักส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และลักษณะที่พึงประสงค์ รายการค่าใช้จ่ายดำเนินงานโครงการสร้างผู้นำด้วยกระบวนการลูกเสือและสภานักเรียน งบรายจ่ายอื่น จำนวน 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) 13. คณะวิทยากร 13.1 จากสถานศึกษาและหน่วยงานที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 13.2 จากสำนักงานพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 13.3 ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ 14. ผู้รับผิดชอบโครงการ 14.1 สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 14.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย 15. สิทธิ์ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ 15.1 มีสิทธิได้รับวุฒิบัตรผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการอยู่ค่ายพักแรม 15.2 มีสิทธิเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการอยู่ค่ายพักแรม 16. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 16.1 ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวิชาการอยู่ค่ายพักแรม 16.2 ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ประสบการณ์และวิธีการดำเนินการไปพัฒนากิจการลูกเสือในสถานศึกษาและถ่ายทอดแก่ผู้เรียนเรียน หรือหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2566
46 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเรียนรวม (ศธ 4300-66-0030) 1 เพื่อครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเรียนรวมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 2 เพื่อให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในโรงเรียน 3 เพื่อนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 10000 ความก้าวหน้าของโครงการประจำไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2566 - การดำเนินการตามแผนงานโครงการเป็นไปตามแผน - ความสำเร็จของโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คือ เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output) 1 ครูโรงเรียนเรียนรวมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 33 คน สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2 โรงเรียนเรียนรวมในสังกัด รายงานผลการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนรวม เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) 1 โรงเรียนในสังกัด จัดมีระบบการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนทีมีความต้องการจำเป็นพิเศษ เข้าร่วมอย่างสร้างสรรค์ 2 นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ สามารถแบ่งปันประสบการณ์สะท้อนคิด จากกิจกรรมตามแผนงานเรียนรวมของโรงเรียน ตามความสนใจประสิทธิภาพ อยู่ในระดับ ดี - มีการขอใช้งบประมาณจากไตรมาสที่ 3 มาใช้ในกิจกรรมในไตรมาสที่ 2 เพิ่มเติม จำนวน 2400 บาท(สองพันสี่ร้อยบาทถ้วน) 2566
47 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (DLTV และ DLIT) ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ศธ 4300-66-0031) ๑. เพื่อประชุมวางแผน และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก สามัญศึกษาในสังกัด ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของปีการศึกษา ๒๕๖5 ๒. เพื่อดำเนินกิจกรรมการนิเทศ ติดตาม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และโรงเรียนพี่เลี้ยง ๓. เพื่อดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. เพื่อดำเนินกิจกรรมการจัดประชุมปฏิบัติการ อบรมและพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล 165900 สพม.เชียงรายได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (DLTV และ DLIT) ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้มีคุณภาพเพื่อให้สามเณรนักเรียนเป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพเที่ยบเท่ากับโรงเรียนปกติ และมีทักษะจำเป็นของศตวรรษที่ 21 2566
48 สพม. เชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด 70000 1.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 41 คน เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานวิทยฐานะ จำนวน 82 คน ได้รับความรู้ คำแนะนำ ที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์และวิะีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด 2.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ยื่นขอรับการประเมินเพื่อให้มี วิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 และ ที่ ศธ 0206.3/ว10 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รวม 183 ราย ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด 2566
49 สพป.เชียงราย เขต 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
โครงการ/การดำเนินการ: โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ประจำปี 2566 1.เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กในระดับชั้นประถมศึกษาได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
2.เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิยาศาสตร์ของเด็กประถมศึกษา ได้ฝึกการสังเกต รู้จักคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้และจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสม
3.เพื่อพัฒนาครูระดับประถมศึกษาให้สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติการ (Hands-on) ตามปรัชญาการเรียนรู้ของโครงการ ซึ่งได้แก่ การเรียนรู้ร่วมกัน (Co-construction) และการรู้คิด (meta- cognition)
41000
สพป.เชียงราย เขต 2 ได้ดำเนินการตามกิจกรรม ครบทุกกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด โดย ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รุ่นที่ 1 และ 2 อบรมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 คน สำหรับโรงเรียนที่เข้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ในสังกัด จำนวน 40 โรงเรียน และ 2. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1รุ่นที่ 2 อบรมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน สำหรับโรงเรียนที่เข้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ในสังกัด จำนวน 20 โรงเรียน ระหว่างวันที่ 11 - 12 มิถุนายน 2566 และได้ดำเนินการประเมินโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อรับตราพระราชทาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษา ในวันที่ 12 เมษายน 2566 จากนั้นได้ดำเนินการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา พร้อมสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
2566
50 สพป.เชียงราย เขต 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
โครงการ/การดำเนินการ: การพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาตามกรอบมาตรฐาน CEFR 1.พัฒนาระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใระดับประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
2.ครูผู้สอนภาษาอังกฤษสามาถดำเนินการพัฒนาระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR ให้แก่นักเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
30000
ข้าราชการครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ในสังกัด จำนวน 145 คน ได้รับการพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR และดำเนินการพัฒนาระดับความสามารถพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR ให้แก่นักเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
2566
51 สพป.เชียงราย เขต 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
พัฒนาหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นสมรรถนะผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 1. เพื่อพัฒนากรอบหลักสูตรท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและส่งเสริมการจัดการศึกษา พัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลที่เน้นสมรรถนะ ของผู้เรียนทุกระดับ
3. เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมที่พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
4. เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
60000 สพป.เชียงราย เขต 2 ดำเนินการปรับปรุงกรอบหลักสูตรท้องถิ่น และเตรียมให้คณะกรรมการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในวันที 10 พฤษภาคม 2566 2566
52 สพป.เชียงราย เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
โครงการเสริมสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าทียมทางการศึกษา 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ให้เป็นไปตามนโยบายและ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อกำกับ ติดตาม วัดและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียนในครอบครัวที่ขอจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม และให้คำแนะนำแนวทางในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษา และดำเนินงานให้ถูกต้องตามระเบียบของโครงการอาหารกลางวัน รวมถึงโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน
4. เพื่อประชุมพิจารณาโครงการ นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากเงินดอกผลกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
5. เพื่อป้องกันและติดตามนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพอย่างน้อยจนจบการศึกษาภาคบังคับ
6. เพื่อชี้แจงการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ แบบมีเงื่อนไขในสถานศึกษา
7. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ลักษณะพิเศษ (โรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร)
9200
1. โรงเรียนในสังกัด ดำเนินการรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการรับนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการกำหนดชั้นเรียน/ห้องเรียน กำหนดแผนการับนักเรียน รับสมัครนักเรียนรายวัน คัดเลือกและรับไว้ทั้งห้องเรียนปกติและห้องเรียนพิเศษ และยืนยันข้อมูลครบทุกโรง คิดเป็นร้อยละ 100
2. โรงเรียนในสังกัด ดำเนินการรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการรับนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการกำหนดชั้นเรียน/ห้องเรียน กำหนดแผนการับนักเรียน รับสมัครนักเรียนรายวัน คัดเลือกและรับไว้ทั้งห้องเรียนปกติและห้องเรียนพิเศษ และยืนยันข้อมูลครบทุกโรง จำนวน 127 โรงเรียน 1 สาขา 4 ห้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 100
3. วัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว (Home School) ของบ้านเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในสังกัด ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 บ้านเรียน ไดแก่ บ้านเรียน BD Pleam & Leam (เด็กชายบูมิบุตรา ละมุล ชั้น ป.2) และบ้านเรียนสิริ (เด็กหญิงณัฐชยา ฟูกิจวณิช ชั้นอนุบาล 3) ผลการประเมินสอบผ่านและผ่านเกณฑ์ ได้เลื่อนไปเรียนชั้นที่สูงขึ้น
4. โรงเรียนได้รับการนิเทศ กำกับ ติดตาม โดยวิธีออนไลน์ (วีดิโอคอล) จำนวน 30 โรง โดยที่ครูผู้รับผิดชอบงานอาหารกลางวัน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม) โรงเรียน สามารถจัดสรับอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch และโปรแกรมบันทึกคัดกรองการเจริญเติบโตพัฒนาการเด็กปฐมวัย (KidDiary) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
5. ครูผู้รับผิดชอบงานอาหารกลางวันได้รับคำแนะนำแนวทางในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน และอาหารเสริม (นม) สามารถดำเนินงานได้ถูกต้องตามระเบียบของโครงการอาหารกลางวัน และโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน
2566
53 สพป.เชียงราย เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 2.1 เพื่อการตรวจและประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต
2.2 เพื่อนิเทศ ติดตามและถอดบทเรียน ครูผู้สอนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
2.3 เพื่อคัดเลือกครูผู้สอนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต
5000
1.สพป.เชียงราย เขต 4 ดำเนินการตรวจและประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ครูผู้สอนที่สมัครเข้าอบรมผ่านระบบออนไลน์ ปีการศึกษา 2566 http://cse-elearning.obec.go.th/admin/dashboard จำนวนครูผ่านการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้้ 138 คน
2.สพป.เชียงราย เขต 4 นิเทศ ติดตามและถอดบทเรียน ครูผู้สอนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ห้องเรียนต้นแบบ ณ โรงเรียนชุมชนบ้านต้าตลาด และโรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี และนิเทศติดตามผ่่านระบบออนไลน์
3.การอบรมพัฒนาครูหลักสูตรการอ่านเพื่อทัฒนาทักษะการคิด บูรณาการเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครูจำนวน 29 คน
2566
54 สพป.เชียงราย เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
โครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ สพป.เชียงราย เขต 4 1. เพื่อให้โรงเรียนในสังกัดมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้มีคุณภาพ
2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ การพัฒนาด้านตัวตน ทักษะสมอง และทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการใช้นวัตกรรมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ
4. เพื่อประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ปีการศึกษา 2565โรงเรียนในสังกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อนิเทศติดตาม ประเมินผลการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนในสังกัด
27000 ผลผลิต (Output)
1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัดสพป.เชียงราย เขต 4 มีการปรับพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ
2. ร้อยละ 100 ของครูปฐมวัยในสังกัดสพป.เชียงราย เขต 4 สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการ การพัฒนาด้านตัวตน ทักษะสมอง และทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อย่างมีคุณภาพ
3. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัดสพป.เชียงราย เขต 4 ที่จัดประสบการณ์เรียนรู้ ตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างมีคุณภาพ
4. ร้อยละ 80 ของครูปฐมวัยในสังกัดสพป.เชียงราย เขต 4 ที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนามีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ
5. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัดสพป.เชียงราย เขต 4 มีการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ปีการศึกษา 2565 อย่างมีประสิทธิภาพ 6. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัดสพป.เชียงราย เขต 4 ได้รับการนิเทศ ติดตามการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยตามบริบทที่เหมาะสม ผลลัพธ์ (Outcome)
เด็กปฐมวัยในสังกัดสพป.เชียงราย เขต 4 ร้อยละ 90 ขึ้นไป ได้รับการพัฒนาเหมาะสมกับวัยในทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมีผลการประเมินพัฒนาการภาพรวมระดับเขตพื้นที่ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดี พร้อมที่จะรับการพัฒนาในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นต่อไป
2566
55 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย
ขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการดูแลและพัฒนาในการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างทั่วถึงและมีพัฒนาการสมวัย
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
3. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การตระหนักถึงความสำคัญ ของการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการดูแล พัฒนาและการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างบูรณาการทุกภาคส่วน
45000
1. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการดูแลและพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และทักษะการเรียนรู้ที่สมวัย มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง
2. สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีความรู้ความเข้าใจและมีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
3. เครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่จังหวัดเชียงราย ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการทุกภาคส่วน โดยแก้ไขปัญหาได้สอดคล้องตามบริบทของพื้นที่
2566
56 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย
ศธจ.เชียงราย
ส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย ๑ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างบูรณาการ
๒ เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ร่วมมือกันในการบูรณาการหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการมีอาชีพและการมีงานทำ
๓ เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของความต้องการของตลาดแรงงาน
70000
พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงและการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการมีอาชีพและการมีงานทำ
2566